วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สัตว์ป่วยพักฟื้น

สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงเมื่ออยู่ในภาวะพักฟื้น

อาจมีบางช่วงในชีวิตของสัตว์เลี้ยงที่จำต้องตกอยู่ในภาวะของการพักฟื้น ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัยอาทิ การเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือ การบาดเจ็บสาหัสภายหลังการผ่าตัดอันสืบเนื่องมาจากอุบัติเหตุหรือโรคมะเร็ง ซึ่งสุนัขและแมวที่อยู่ในภาวะพักฟื้นอันเนื่องมาจากสาเหตุดังกล่าว จะต้องการสารอาหารที่ให้พลังงานสูง มีความน่ากิน ตลอดจนสามารถย่อยและดูดซึมได้ง่าย เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ในกรณีที่สัตว์เลี้ยงอยู่ในภาวะพักฟื้นจากอาการเจ็บป่วยที่ไม่รุนแรงมากนัก เจ้าของสัตว์เลี้ยงสมารถดูแลให้สัตว์เลี้ยงฟื้นตัวได้ด้วยตนเองที่บ้าน โดยการเลือกอาหารที่มีคุณค่าโภชนาการควบถ้วนและสมดุลเหมาะสมกับความต้องการของร่างกายให้กับสัตว์เลี้ยง

จะทราบได้อย่างไรว่าสัตว์เลี้ยงมีการฟื้นตัวที่ไม่ดี

สัตว์เลี้ยงที่หายจากอาการเจ็บป่วย หรือฟื้นตัวภายหลังจากการผ่าตัดได้ช้านั้น สืบเนื่องมาจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้รับสารอาหารที่ไม่เหมาะสม ตลอดจนได้รับสารอาหารในปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแต่ไม่ว่าการฟื้นตัวช้าจะเกิดจากปัจจัยใดก็ตาม การเฝ้าสังเกตอาการของสัตว์เลี้ยงที่ป่วยในภาวะพักฟื้นนั้นมีความสำคัญมากดังนั้นหากท่านสังเกตพบอาการเหล่านี้ ควรปรึกษาสัตวแพทย์

สังเกตอาการเตือนในช่วงพักฟื้น

- น้ำหนักตัวลดหรือไม่เพิ่มขึ้น
- เบื่ออาหาร
- กระหายน้ำมากขึ้น
- อ่อนเพลีย / เซื่องซึม
- บาดแผลมีอาการอักเสบและบวม
- มีเลือดหรือของเหลวไหลออกจากบาดแผล
- หายใจถี่ขึ้น

การช่วยเหลือสัตว์เลี้ยงในขณะพักฟื้น

ควรให้สัตว์เลี้ยงกินยาตรงตามเวลา ตลอดจนดูแลทำความสะอาดและเปลี่ยนผ้าพันแผลอย่างสม่ำเสมอ การให้ความรักและการดูแลเอาใจใส่สัตว์เลี้ยงที่ป่วยภาวะพักฟื้นเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้สัตว์เลี้ยงมีกำลังใจและอยากกินอาหารมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรให้สัตว์เลี้ยงกินอาหารที่สัตวแพทย์แนะนำเท่านั้น

โภชนาการที่ครบถ้วนและสมดุล

เนื่องจากในช่วงระยะพักฟื้น ร่างกายของสัตว์ป่วยจะต้องการได้รับพลังงานมากกว่าปกติ ดังนั้นอาหารสำหรับสัตว์ป่วยในภาวะพักฟื้นควรให้พลังงานสูง สารอาหารสามารถย่อยและดูดซึมไปใช้ได้ง่ายและอุดมด้วยกรดไขมันจำเป็น โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุในปริมาณที่เหมาะสม

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ
- คู่มือ Prescription


วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559

พฤติกรรมของสุนัข



พฤติกรรมของสุนัข มักได้รับอิทธิพลมาจากการเรียนรู้และจดจำในช่วงเวลาที่เป็นลูกสุนัข การเลี้ยงหรือดูแลที่ไม่ถูกต้องในวัยเด็ก อาจทำให้ลูกสุนัขพัฒนาเป็นสุนัขเต็มวัยที่มีพฤติกรรมผิดเพื้ยนไป เช่น เข้ากับสุนัขอื่นไม่ได้แสดงอาการดุร้าย ฉุดเฉียว เมื่อเผชิญกับคนแปลกหน้า กัดผู้เลี้ยง หรือเป็นโรคกลัวเฉพาะอย่าง (phobias) เช่น กลัวเียงดัง เสียงฟ้าผ่า ฟ้าร้อง เสียงประทัด หรือลักษณะแปลก ๆ บางอย่างของมนุษย์ เช่น การใส่หมวก(บรูนเนอร์ และ สตอลล์ , 2550 ; เบลีย์ , 2549 ; วิชัย คูสกุล, 2549)

เมื่อสุนัขเกิดความหวาดกลัว จำเป็นต้องแก้ไขให้ได้โดยเร็วที่สุด มิฉะนั้นแล้วความหวาดกลัวของสุนัขอาจทำให้สุนัขกัดหรือทำร้ายคนได้ ผู้เลี้ยงอาจทำให้สุนัขเกิดความเคยชินกับสิ่งที่หวาดกลัวทีละน้อย ต้องคอยปลอบโยน ให้ความมั่นใจสุนัขเกิดความเคยชินกับสิ่งที่หวาดกลัวทีละน้อย ต้องคอยปลอบโยน ให้ความมั่นใจกับสุนัข ให้สนุัข ให้สุนัขรู้ว่าไม่มีอะไรน่ากลัว และเบี่ยงเบนด้วยกิจกรรมที่สุนัขชอบหรือสบายใจ เช่น การเล่น การกินขนมเล็กน้อย การแปรงขน ถ้าสุนัข มีอาการรุนแรง หรือแก้ไขเช่นนี้แล้วไม่ดีขึ้น จำเป็นต้องปรึกษาจากสัตวแพทย์หรือนักพฤติกรรมสุนัข อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมเช่นนี้สามารถป้องกันได้โดยการให้ความรักและเอาใจใส่แก่สุนัข พยายามเข้าใจธรรมชาติของสุนัขและอย่าแกล้งสุนัขเพื่อความสนุก ลูกสุนัขที่ถูกแกล้งให้ตกใจกลัว เมื่อโตขึ้นอาจกลายเป็นหมาขี้ระแวง หรือเป็นโรคประสาทได้หากตกใจมาก

สุนัขทุกตัวจำเป็นต้องฝึกการเข้าสังคมกับคนและสัตว์ตัวอื่น ๆ ลูกสุนัขที่ถูกกักขังหรือกีดกันไม่ให้พบปะผู้คน ในช่วงอายุ 3 – 10 สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงที่ลูกสุนัขชอบเล่นซุกซนที่สุด จะไม่สามารถปรับตนให้เข้ากับสังคม ทั้งคนและสุนัขด้วยกันเองได้ นอกจากนี้เมื่อสุนัขเติบโตขึ้น อาจมีอาการทางประสาท ไม่ชอบพบปะผู้คนหรือสุนัขตัวอื่น จนผู้เลี้ยงควบคุมยาก

สุนัขบางพันธุ์อาจมีนิสัยก้าวร้าว ชอบพฤติกรรมต่อสู้แย่งชิง ความเป็นจ่าฝูง ทำให้เกิดความเดือนร้อนต่าง ๆ ผู้เลี้ยงควรสังเกตพฤติกรรม สุนัขตั้งแต่ยังเล็กว่ามีแนวโน้มที่จะก้าวร้าวเมื่อโตขึ้นหรือไม่ เช่น มีอาการไม่เป็นมิตร ขู่หรือคำรามเมื่อนำสุนัขตัวใหม่มาเลี้ยง เมื่อเจอคนแปลกหน้าหรือเมื่อเจอสุนัขที่ตัวเล็กกว้า ถ้าหากเป็นดังนั้นแสดงว่าสุนัขนั้นมีแนวโน้มที่จะก้าวร้าวในอนาคต การฝึกให้สุนัขเชื่อฟังคำสั่งตั้งแต่ยังเล็กจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้สุนัขมีระเบียบวินัย เชื่อฟังคำสั่งมากขึ้น ทำให้สามารถควบคุมสุนัขได้ และไม่ก่อเกิดความวุ่นวายในภายหลัง เพราะการแก้ไขปัญหาขณะสุนัขโตแล้วทำได้ยากมาก

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ
  คู่มือการเลี้ยงสุนัข


หมัด (Flea)


ความสำคัญของหมัด
- ทำให้เกิดโรคผิวหนังจากการแพ้น้ำลายหมัด
- เป็นพาหะนำพยาธิตืดแตงกวา ซึ่งเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

สาเหตุ
- เกิดจากหมัดในสกุล Ctenocephalides felis

วงจรชีวิต
ตัวเต็มวัยของหมัดตัวเมียจะดูดเลือดและสามารถอยู่บนตัวสัตว์ได้เป็นระยะเวลาหลายสัปดาห์ หมัดตัวเมียวางไข่บนตัวสัตว์ ได้มากถึง 50 ฟองต่อวัน นานติดต่อกันเป็นเวลาหลายสัปดาห์ จากนั้นไข่จะตกลงพื้นและฟักตัวในสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่มีภูมิอากาศเหมาะสมในการฟักตัวของหมัดอย่างมาก ไข่หมัดจะช้เวลาแค่เพียงไม่กี่วันในการฟักเป็นตัวอ่อน ตัวอ่อนของหมัดจะมีขนาดเล็กมาก ลักษณะคล้ายตัวบุ้งและเจริญเติบโตโดยการกินเศษขน มูลของหมัดตัวเต็มวัยและเนื้อเยื้อต้าง ๆ ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมภายในเวลาไม่กี่วันตัวอ่อนของหมัดจะกลายเป็นดักแด้และใช้เวลาประมาณไม่เกิน 10 วัน ในการพัฒนาเป็นตัวเต็มวัย

การกำจัดหมัดอย่างมีประสิทธิภาพ
- กุญแจสำคัญที่จะกำจัดหมัดไว้ได้อย่างถาวรก็คือ ยาที่ใช้จะต้องมีประสิทธิภาพในการกำจัดตัวเต็มวัยและตัวอ่อนของหมัดได้อย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันการแพร่กระจายพันธุ์ ต้องกำจัดหมัดทั้งบนตัวสัตว์เลี้ยงและในสิ่งแวดล้อม เพราะหมัดตัวเต็มวัยที่อยู่บนตัวสัตว์เลี้ยงนั้นเป็นเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรหมัดเท่านั้น ประชากรหมัดที่เหลือ 95 เปอร์เซนต์ แอบซ่อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม คอยเวลาที่จะกลับขึ้นบนตัวสัตว์เลี้ยงอีกครั้ง

- ปัจจุบันมียาหยดหลัง ที่สามารถป้องกันและกำจัดหมัด ซึ่งสามารถฆ่าหมัดได้อย่างรวดเร็ว สามารถใช้ในการรักษาโรคผิวหนังจากการแพ้น้ำลายหมัดได้

- การกำจัดหมัดในสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญมากจึงควรเลือกใช้ยาที่มีประสิทธิภาพกำจัดหมัดในสิ่งแวดล้อมได้ ที่นิยมคือ Flumethrin (ไบตืคอล 6 เปอร์เซนต์) แบบผสมน้ำเพื่อราดในบริเวณสนามหญ้าหรือฉีดพ่นในบริเวณที่สัตว์เลี้ยงอาศัยอยู่ ควรทำเป็นประจำทุก ๆ 2 สัปดาห์จนกว่าหมัดจะหมดไปจากสิ่งแวดล้อม

- การใช้ยากำจัดหมัด ควรได้รับคำแนะนำการใช้จากสัตวแพทย์เพราะยาบางกลุ่มไม่สามารถใช้กับแมวได้

วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2559

รู้หรือไม่...พยาธิจากสัตว์เลี้ยงเป็นอันตรายและสามารถติดสู่คนได้

รู้หรือไม่...พยาธิจากสัตว์เลี้ยงเป็นอันตรายและสามารถติดสู่คนได้



โรคสัตว์สู่คน คือ โรคที่เกิดในสัตว์ แต่สามารถติดและก่อโรคในคนได้
พยาธิสัตว์เลี้ยง เป็นโรคสัตว์สู่คนอีกโรคหนึ่ง ซึ่งมักพบในเด็กและคนชราที่มีภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง

ตัวอ่อนพยาธิขึ้นตา เกิดจากตัวอ่อนของพยาธิไส้เดือนในทางเดินอาหารสุนัขและแมว (Toxocara canis หรือ Toxocara cati) ติดสู่คนและเดินทางไปที่ตา อาจทำให้ตาบอดได้

ตัวอ่อนพยาธิที่ปวด เกิดจากตัวอ่อนของพยาธิไส้เดือนในทางเดินอาหารสุนัขและแมว (Toxocara canis หรือ Toxocara cati) ติดสู่คนและเดินทางไปที่ปอด อาจทำให้เกิดก้อนที่ปอด มีอาการไอและปอดอักเสบ

พยาธิไชเข้าผิวหนัง เกิดได้ในกรณีทีตัวอ่อนของพยาธิปากขอในทางเดินอาหารสุนัขและแมว ติดสู่คนโดยไชเข้าทางผิวหนัง

ควรถ่ายพยาธิทุก ๆ 3 เดือน ปกป้องสัตว์เลี้ยงที่คุณรัก 

"การจัดการเพื่อลดความเสี่ยงโรคสัตว์สู่คนจากพยาธิ จำเป็นจะต้องพิจารณาและคำนึงปัจจัยหลากหลาย รวมทั้งการปฎิสัมพันธ์ระหว่างคน สัตว์ สิ่งแวดล้อม และการสื่อสาร ให้ความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง "WHO, 2013"

วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

นกคู่รัก โลกกลับหัว


นกคู่รัก โลกกลับหัว

นกสองหัวนี้กำลังกลับหัวมองอะไรกันอยู่ แล้วมันไม่มึนหัวกันบ้างหรอ เราจะมาไขคำตอบกันว่า มันเป็นนกอะไรและทำอย่างนี้ทำไม นกสองหัวนี้ก็คือ นกกระสาขาว ความสูงตั้งแต่หัวจรดเท้าประมาณ 1 เมตร น้ำหนักตัว 2.3 – 4.4 กิโลกรัม ขายาวไร้ขน ปากแหลมเป็นสีแดง คอยาว ปกคลุมด้วยขนทั้งตัว ที่บริเวณหัว คอ และลำตัวเป็นสีขาว ขนปลายปีกเป็นสีดำไร้ขนทั้งในตัวผู้และตัวเมีย แต่ตัวผู้จะเป็นวงใหญ่กว่า นกกระสาขาวกินอาหารได้หลายชนิด เช่น แมลง กบ คางคก ปลา หนู งู กิ้งก่า ไส้เดือน หอย รวมทั้งสัตว์เปลือกแข็งต่าง ๆ และไข่ของนกที่ทำรังอยู่บนพื้นดิน ในการหาเหยื่อ มันจะกวาดสายตาและค่อย ๆ ย่องๆผ เมื่อใกล้ถึงเหยื่อมันจะเหวี่ยงคอไปด้านหลัง ใช้ปากทิ่มแทงเหยื่อแล้วจับกิน

เมื่อถึงช่วงฤดูผสมพันธุ์ พวกมันมักจับคู่สร้างรังที่แข็งแรงและคงทนอยู่ใกล้ ๆกัน จนสามารถเห็นและได้ยินเสียงของอีกคู่หนึ่งได้ มันจะจับคู่เพียงตัวเดียวในหนึ่งฤดูผสมพันธุ์ แต่จะไม่อพยพไปพร้อมกัน และเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์อีกครั้ง พวกมันจะกลับมาที่รังเดิม โดยตัวผู้จะกลับมาที่รังก่อน มันจะแสดงความเป็นเจ้าของรัง แล้วชันขนรอบคอขึ้น หากตัวผู้รับตัวเมียที่มาใหม่นั้นเป็นคู่ มันจะผงกหัวขึ้นลง ๆไปพร้อม ๆ กับทำเสียงกระทบปากเป็นจังหวะดังที่เห็นในภาพ คงได้หายสงสัยกันสักที
ตัวเมียนั้นวางไข่คราวละ 3 – 5 ฟอง หรือบางตัวอาจมากถึง 7 ฟอง ใช้เวลากกไข่ 33 – 34 วัน นกแรกเกิดลำตัวเป็นสีขาว ปากเป็นสีดำ พ่อแม่นกกระสาขาวจะช่วยกันเลี้ยงดูลูกน้อยจนเมื่อขนเริ่มงอกหรือเมื่ออายุได้ 8 – 9 สัปดาห์ แต่ลูกนกกระสาก็จะกลับมาที่รังทุกเย็นเพื่อขออาหารจากพ่อแม่ เมื่อนกกระสาขาวมีอายุครบสามปีมันจะเริ่มผสมพันธุ์ เคยมีบันทึกไว้ว่ามันอยู่จะสืบพันธุ์ได้ถึงอายุ 30 ปีเลยทีเดียว

ถิ่นอาศัยที่ใหญ่ที่สุดของนกกระสาขาวอยู่ในประเทศโปแลนด์ ส่วนประเทศไทยนั้น เคยพบนกกระสาขาวที่จังหวัดนครปฐม แต่ปัจจุบันคาดว่าใกล้จะสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ
หนังสือ Go Genius
topicstock.pantip.com